เพราะ Michelin ไม่ใช่แค่ยางรถยนต์ ไขข้อข้องใจทำไมเจ้ายางอ้วนกลมถึงคือนักชิมอาหารระดับ World Class

เพราะ Michelin ไม่ใช่แค่ยางรถยนต์ ไขข้อข้องใจทำไมเจ้ายางอ้วนกลมถึงคือนักชิมอาหารระดับ World Class

🤍❤️ แน่นอนว่าสายกินตัวยงจะต้องรู้จักหรืออย่างน้อยที่สุดไม่ว่าจะสายไหนๆ ก็อาจจะเคยได้ยิน ‘คู่มือ’ ที่รวบรวมร้านอาหารต่างๆ สุดแสนอร่อยมากมายจากทั่วโลกในนาม Michelin Guide (มิชลิน ไกด์) มาบ้างแล้ว โดยที่หลายๆ คนอาจจะเกาหัวสับสนกับชื่อของบริษัทผลิตยางระดับโลกจากฝรั่งเศสอย่าง Michelin ที่สะดุดตาและเป็นที่จดจำด้วยคาแรคเตอร์เจ้ายางสีขาวตัวอ้วนกลม วันนี้เมอร์รี่เลยขออาสาเล่าเกร็ดประวัติที่มาของรางวัลนี้ให้ฟังกันค่ะ สายกินไม่รู้ไม่ได้แล้ว! ✌🏻

เพราะ Michelin ไม่ใช่แค่ยางรถยนต์ ไขข้อข้องใจทำไมเจ้ายางอ้วนกลมถึงคือนักชิมอาหารระดับ World Class
พี่น้องตระกูลมิชลิน: อองเดร (ซ้าย) และ เอดูอาด์ (ขวา) มิชลิน

⏱ ช่วงปีค.ศ. 1900 พี่น้องสองคนนามว่า Andre (อองเดร) และ Edouard (เอดูอาด์) ก่อตั้งบริษัทผลิตยางรถยนต์ในนามว่า Michelin Tyre ตามนามสกุลของเขาทั้งสอง แต่ในช่วงยุคนั้น ถนนหนทางสำหรับรองรับการคมนาคมด้วยรถยนต์ในฝรั่งเศสยังอยู่ในช่วงการขยายร่างสร้างตัว ทั้งฝรั่งเศสมีรถยนต์อยู่แค่ประมาณ 2,200 คันเท่านั้น

🚗 หลังจากผลิตเพียงแค่ยางรถยนต์มาได้ประมาณ 11 ปี ทั้งสองพี่น้องได้ผุดไอเดียทางการตลาดขึ้นด้วยแนวคิดที่เรียบง่ายแต่เฉียบคม นั้นก็คือ “ถ้าจะให้ยอดขายยางรถยนต์ดีขึ้น ก็ต้องให้คนออกไปเดินทางขับรถไกลๆ กันให้มากขึ้น เพื่อให้ยางถูกใช้มากขึ้นตาม” โดยแนวคิดทางการตลาดนี้เป็นอีกหนึ่งความทะเยอทะยานของสองพี่น้องที่อยากเปลี่ยนคอนเซ็ปต์การมีรถยนต์ (ซึ่งต้องมียาง!) จากการเป็นพาหนะสำหรับการเดินทางไปปิกนิกในสวนสาธารณะใกล้ๆ ละแวกบ้านไปเป็นการคมนาคมในระยะไกลมากขึ้น

🇫🇷 Michelin Guide จึงถือกำเนิดขึ้นโดยการตระเวนเสาะหาร้านอาหารใกล้ไกลทั่วฝรั่งเศสที่ทั้งเปี่ยมไปด้วยคุณภาพ รสชาติอร่อย และต้องพร้อมที่จะมอบประสบการณ์ดีๆ ในหลายๆ มิติให้กับนักชิมที่ดั้นด้นขับรถไปชิมถึงที่ โดยในปีต่อๆ มา Michelin Guide ก็ได้เริ่มขยายอาณาจักร ‘ไกด์’ ของตัวเองออกไปยังประเทศอื่นๆ อย่างต่อเนื่องและได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของความสำเร็จของร้านอาหารและเป็นหนึ่งในรางวัลด้านอาหารที่ทรงอิทธิพลที่สุดของโลก

❤️ 𝗠𝗲𝗿𝗿𝘆’𝘀 𝗡𝗼𝘁𝗲: Michelin Guide คือหนังสือคู่มือที่รวบรวมร้านอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานในแบบมิชลินอันประกอบไปด้วย:

1️⃣ Quality of the ingredients used (คุณภาพของวัตถุดิบที่นำมาปรุงอาหาร)
2️⃣ Mastery of flavour and cooking techniques (รสชาติและเทคนิคการปรุงอาหาร)
3️⃣ The personality of the chef represented in the dining experience (บุคลิกภาพของเชฟที่ถูกนำเสนอไปสู่ประสบการณ์ในการรับประทานอาหาร)
4️⃣ Value for money (ความคุ้มค่าคุ้มราคาของอาหาร)
5️⃣ Consistency between inspectors’ visits (ความคงเส้นคงวาของคุณภาพและรสชาติอาหาร)

เพราะ Michelin ไม่ใช่แค่ยางรถยนต์ ไขข้อข้องใจทำไมเจ้ายางอ้วนกลมถึงคือนักชิมอาหารระดับ World Class
เหล่าบรรดาเชฟชื่อดังจากทั่วทุกมุมโลกที่ร้านอาหารของพวกเขาได้รับรางวัล Michelin Star

📕 ในช่วงแรกของการเริ่มผลิตแจกจ่าย Michelin Guide ออกสู่สาธารณะ ไกด์ปกแดงจากเจ้ายางอ้วนกลมเล่มนี้รวบรวมไว้เพียงแค่รายชื่อโรงแรมและสถานีให้บริการน้ำมันที่เป็นที่ตั้งของร้านอร่อยไว้เท่านั้น แต่เมื่อรายชื่อของร้านอาหารต่างๆ เริ่มมีมากขึ้น ในปี 1931 ระบบการให้คะแนนเพื่อจัดอันดับประเภทของร้านอาหารนั้นๆ หรือที่เรารู้จักกันในนาม Michelin Star หรือดาวมิชลินก็ได้ถูกริเริ่มขึ้น โดยระบบการให้ดาวนี้เป็นการมอบให้แก่ร้าน ไม่ใช่การให้แก่เชฟ

⭐️ (1 ดาว) คือ ร้านอาหารคุณภาพสูงที่ควรค่าแก่การ “หยุดแวะชิม”
⭐️⭐️ (2 ดาว) คือ ร้านอาหารยอดเยี่ยมที่ควรค่าแก่การ “ขับรถออกนอกเส้น” ทางเพื่อแวะชิม
⭐️⭐️⭐️ (3 ดาว) คือ สุดยอดร้านอาหารที่ควรค่าแก่การ “เดินทางไกลเพื่อไปชิมสักครั้ง”

📌 แน่นอนว่าเวลาผ่านไปกว่าร้อยปี มีเชฟจากร้านอาหารชั้นนำมากหน้าหลายตาทั่วโลกที่ได้รับรางวัลการันตีตำแหน่งยอดพีระมิดอันหอมหวานนี้ ผ่านประสบการณ์ที่สั่งสมมามากมายในแวดวงการทำอาหาร รวมไปถึงการเป็นที่ยอมรับต่อนักชิมอาหารทั่วโลกและมาตราฐานการให้คะแนนของ Michelin Guide ที่ไม่ถดถอยไปตามกาลเวลา

🌟 โดยเกณฑ์การให้คะแนนนี้ไม่ได้มาจากเชฟหรือผู้เชี่ยวชาญในแวดวงอาหารแต่อย่างใด แต่เป็น ‘นักรีวิว’ คนธรรมดาทั่วไปที่ต้องผ่านการอบรมนานแรมปี และถูกไม่ให้แพร่งพรายความลับนี้กับใครแม้แต่คนในครอบครัว รวมถึงการห้ามให้สัมภาษณ์ต่อสื่อและการพูดคุยกันเจ้าของร้าน โดย ‘นักรีวิว’ เหล่านี้จะได้รับคำสั่งจากทาง Michelin ให้ตีเนียนไปเป็นลูกค้าทั่วไปปกติ จ่ายเงินกินเองวนๆ ไปประมาณ 3-4 ครั้งตลอดทั้งปีเพื่อให้มั่นใจในรสชาติและความคงเส้นคงวาของคุณภาพ

❤️ 𝗠𝗲𝗿𝗿𝘆’𝘀 𝗡𝗼𝘁𝗲:

1. ณ ปัจจุบันปี 2022 เชฟที่มีร้านอาหารที่ได้รับ Michelin Star รวมกันมากที่สุดในโลกคือ Alain Ducasse เชฟชาวฝรั่งเศสที่ร้านอาหารของเขาได้รับดาวรวมกันมากถึง 17 ดาวจากร้านอาหารกว่า 36 ร้านของเขาทั่วโลก

2. เซเลบริตี้ เชฟชื่อดังอย่าง Gordan Ramsay ผู้เลื่องลือในความดุดัน ของบุคลิกในฐานะเชฟและกรรมการรายการแข่งขันทำอาหารชื่อดัง เคยให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ The Daily Mail ในปี 2013 ว่าเขาได้ร้องไห้เสียน้ำตาออกมาอย่างจริงจังเมื่อรู้ว่าร้านอาหาร Gordon Ramsay at The London ของเขาที่ได้ Michelin Star 2 ดาวติดต่อกันตั้งแต่ปี 2008 จนถึง 2013 ไม่ได้ถูกคัดเลือกให้ได้รับดาวต่อในปี 2014

เพราะ Michelin ไม่ใช่แค่ยางรถยนต์ ไขข้อข้องใจทำไมเจ้ายางอ้วนกลมถึงคือนักชิมอาหารระดับ World Class
เหล่าบรรดาเชฟชื่อดังจากประเทศไทยที่ร้านอาหารของพวกเขาได้รับรางวัล Michelin Star

🇹🇭 เวลาผ่านไปเกือบ 90 ปี ในปี 2017 ที่ผ่านมานี้เอง Michelin Guide ก็ได้เดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลแวะมา ‘เยี่ยมชิม’ ประเทศที่อุดมไปด้วยของกินอร่อยๆ อย่างบ้านเราเป็นครั้งแรก พร้อมไม่ลืมที่จะพกดาวมาแจกให้กับสุดยอดร้านอาหารที่เข้ารอบตามแบบฉบับของมิชลินด้วย โดยประเทศไทยนับเป็นประเทศลำดับที่ 6 ในเอเชียที่เจ้ายางอ้วนกลมแวะพกดาวมาฝากถัดจากเซี่ยงไฮ้ และโซลตามลำดับ

❤️ 𝗠𝗲𝗿𝗿𝘆’𝘀 𝗡𝗼𝘁𝗲: ล่าสุดในปี 2021 Michelin Star ได้แตกประเภทของดาวออกมาอีกหนึ่งหมวดโดยใช้ชื่อว่า The Michelin Green Star เพื่อมอบให้แก่ร้านอาหารที่โดดเด่นในระบบการจัดหาวัตถุดิบที่นำมาปรุงอาหารในรูปแบบที่ยั่งยืน รวมถึงแนวทางปฏิบัติของร้านอาหารในด้านต่างๆ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยล่าสุดในปี 2022 ร้าน PRU จังหวัดภูเก็ต เป็นเพียง 1 ร้านในประเทศไทยที่ได้ดาวสีเขียวนี้ 💚

เพราะ Michelin ไม่ใช่แค่ยางรถยนต์ ไขข้อข้องใจทำไมเจ้ายางอ้วนกลมถึงคือนักชิมอาหารระดับ World Class
📍 ร้าน Tonchin Ramen ชั้น 1 ศูนย์การค้า The Mercury Ville @ Chidlom ได้รับรางวัล Michelin Bib Gourmand

💸 แน่นอนว่าร้านอาหารที่ได้ขึ้นทำเนียบสุดยอดร้านอาหารของ Michelin แต่ละร้านนั้นย่อมมาพร้อมกับราคาที่ค่อนข้างสูง เพื่อให้ได้มาซึ่งคุณภาพของวัตถุดิบ รวมถึงประสบการณ์ในการรับประทานอาหารแบบพรีเมียม หรือที่เราอาจจะคุ้นเคยกันในชื่อ Fine Dining แต่แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกร้าน Fine Dining จะเท่ากับรางวัล Michelin Star และไม่ใช่ทุกร้านที่เข้าเกณฑ์สุดเคี่ยวของ Michelin Star จะต้องเป็นร้าน Fine Dining ที่วัดกันด้วยระดับราคาเพียงเท่านั้น

😋 ในปี 1955 นั้นเองจึงได้ถือกำเนิดรางวัล Michelin Bib Gourmand (มิชลิน บิบ กูร์มองด์) ขึ้นมา เพื่อรวบรวมและแนะนำร้านอาหารที่โดดเด่นในเรื่องรสชาติ คุณภาพ แต่มาในราคาย่อมเยาตามมาตราฐานราคาของท้องถิ่นนั้นๆ โดยในปี 1997 สัญลักษณ์เจ้ายางอ้วนกลมแลบลิ้นพร้อมหม่ำๆ อาหารได้ถูกเผยแพร่ออกสู่สาธารณะในฐานะสัญลักษณ์ที่การันตีถึงความอร่อยที่คุ้มค่าคุ้มราคา

❤️ 𝗠𝗲𝗿𝗿𝘆’𝘀 𝗡𝗼𝘁𝗲: Tonchin Ramen ร้านราเมนต้นกำเนิดจากย่านอิเกบูกูโระ จากประเทศญี่ปุ่นที่มีสาขามากมายทั่วโลก ได้รับรางวัล Michelin Bib Gourmand จาก New York ถึง 3 ปีซ้อน (2019, 2020, 2022) พร้อมให้คุณได้สัมผัสประสบการณ์ความอร่อย การันตีมาตรฐานคุณภาพในแบบฉบับ Michelin ในราคาที่จับต้องได้ได้แล้ววันนี้ที่📍 ร้าน Tonchin Ramen ชั้น 1 ศูนย์การค้า The Mercury Ville @ Chidlom

แชร์